คุณอยากรู้วิธีสร้างเว็บไซต์สวยๆ หรือเปล่า?
ถ้าใช่ คุณมาถูกที่แล้วครับ ผมจะอธิบายขั้นตอนการทำเว็บไซต์ โดยจะเขียนให้เข้าใจง่าย และทำตามได้ทันที
หลังจากอ่านและทำตามบทความนี้เสร็จ คุณจะมีเว็บสวยๆ เป็นของตัวเองครับ

คุณอยากรู้วิธีสร้างเว็บไซต์สวยๆ หรือเปล่า?
ถ้าใช่ คุณมาถูกที่แล้วครับ ผมจะอธิบายขั้นตอนการทำเว็บไซต์ โดยจะเขียนให้เข้าใจง่าย และทำตามได้ทันที
หลังจากอ่านและทำตามบทความนี้เสร็จ คุณจะมีเว็บสวยๆ เป็นของตัวเองครับ
การสร้างเว็บไซต์สมัยก่อนนั้น คุณต้องมีความรู้ HTML (ภาษาเว็บ) หรือต้องสามารถใช้โปรแกรมสร้างเว็บอย่าง Dreamweaver ได้ (ซึ่งใช้ยากและซับซ้อน)
ถ้าคุณไม่มีความรู้ด้านนี้ คุณก็ไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากเสียเงินจ้างนักออกแบบเว็บไซต์ (และยิ่งคุณอยากให้เว็บคุณสวยและดูดีมากเท่าไหร่ ราคาค่าทำเว็บก็จะสูงขึ้นไปเท่านั้น)
แต่ปัจจุบันนี้มันเปลี่ยนไปแล้วครับ
ตอนนี้คุณสามารถสร้างเว็บไซต์ด้วยตนเอง โดยที่ไม่ต้องเสียเวลาเรียนรู้อะไรมากมาย เพราะว่าปัจจุบันมีสิ่งที่เรียกว่า WordPress มาทำให้การสร้างเว็บไซต์ง่ายขึ้นกว่าเดิมหลายเท่าตัว
อธิบายง่ายๆ WordPress คือโปรแกรมสร้างเว็บ “สำหรับคนทั่วไป” (ที่ไม่ใช่นักทำเว็บมืออาชีพ) ถ้าคุณใช้ WordPress คุณจะสามารถสร้างเว็บไซต์ได้ด้วยตนเอง
WordPress ใช้งานง่าย คุณสามารถเรียนรู้โดยการลองผิดลองถูกหรือจากอินเตอร์เน็ตได้
และที่สำคัญ โปรแกรมตัวนี้ “ฟรี” ครับ
ถ้าคุณใช้ WordPress คุณสามารถทำสิ่งเหล่านี้ได้ง่ายๆ
คุณสามารถใช้ WordPress ทำเว็บไซต์ได้หลายประเภท ไม่ว่าจะเป็น ทำเว็บขายของ, บล็อกส่วนตัว, เว็บที่มีระบบสมาชิก, เว็บองค์กร, ฯลฯ
สรุปคือ การทำเว็บไซต์ในปัจจุบันนั้นไม่ยุ่งยากเหมือนก่อนแล้ว ผู้อ่านอย่ากังวลว่าต้องเสียเงินหรือเสียเวลามากมายเพื่อทำเว็บไซต์ ไม่จำเป็นแล้วครับ
ที่สำคัญคือ คุณไม่ต้องลงโปรแกรมที่เครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณ เพราะเราจะติดตั้ง WordPress ไว้ที่เว็บโฮสติ้ง แล้วเข้าใช้งานผ่านเว็บเบราว์เซอร์อย่าง Chrome หรือ Microsoft Edge นี่ทำให้คุณสามารถเข้าไปจัดการเว็บคุณได้ไม่ว่าจะใช้คอมพิวเตอร์เครื่องไหน คุณจะใช้ Windows หรือ Mac ก็ได้หมด (ขอแค่จำ username กับ password สำหรับล็อกอินเข้า WordPress ได้ก็พอครับ)
การสร้างเว็บมีค่าใช้จ่ายที่จำเป็นแค่สองรายการเท่านั้นครับ
หมดแล้วครับ คุณสามารถสร้างเว็บไซต์สวยๆ ด้วยตัวเอง ด้วยค่าใช้จ่ายเพียงเท่านี้ครับ
เนื่องจาก WordPress มี “ธีม” (ดีไซน์สำเร็จรูป) แจกฟรีมากมาย เราเลยไม่จำเป็นต้องเสียค่าออกแบบเว็บไซต์ครับ หลังจากลง WordPress เราสามารถล็อกอินเข้าไปในส่วน admin แล้วเลือกโหลดธีมฟรีสวยๆ ได้เลย เท่านี้เว็บไซต์เราก็จะดูดีแล้วครับ
เว็บโฮสติ้งคือเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่เก็บไฟล์ของเว็บไซต์เราไว้ (ก็คือเก็บโปรแกรม WordPress ไว้นั่นเองครับ) และเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตตลอด 24 ชั่วโมง ทำให้คนสามารถเข้าชมเว็บไซต์เราได้ตลอดเวลา
ค่าใช้จ่ายในการเช่าเว็บโฮสติ้งสำหรับเว็บไซต์ทั่วไปจะอยู่ที่ 200 – 700 บาทต่อเดือน โฮสติ้งที่ราคาถูกกว่านี้ก็มี แต่ก็ต้องทำใจเรื่องประสิทธิภาพ (เว็บอาจช้าและล่มบ่อย)
เวลาคุณจ่ายเงินเช่าเว็บโฮสติ้ง ผู้ให้บริการจะส่ง URL ของสิ่งที่เรียกว่า control panel (หรือ cPanel) มาให้เรา
Control panel คือหน้าเว็บหน้าตาแบบรูปข้างล่าง เอาไว้ใช้จัดการเว็บไซต์ของเรา
เราใช้ control panel ทำสิ่งเหล่านี้ได้
ถ้าคุณอยากให้คนเข้าชมเว็บไซต์คุณได้ คุณต้องมีชื่อโดเมน (mywebsite.com)
การจดโดเมนไม่ใช่การ “ซื้อ” โดเมนอย่างถาวร แต่เป็นการ “เช่า” ใช้ชื่อโดเมนเป็นรายปี (พอจ่ายเงินค่าโดเมนแล้ว คุณจะได้สิทธิ์ใช้ชื่อนั้นๆ หนึ่งปี)
เพราะฉะนั้นหลังจากคุณจดชื่อโดเมนไปแล้ว คุณต้องอย่าลืมจ่ายเงินต่ออายุก่อนที่โดเมนจะหมดอายุ (ไม่อย่างนั้นอาจมีคนจดแย่งไป)
หลายคนมีความกังวลเรื่องลืมต่ออายุโดเมน ไม่ต้องกลัวครับ บริษัทรับจดโดเมนชั้นนำส่วนใหญ่ จะต่ออายุโดเมนให้เราโดยอัตโนมัติ (เมื่อโดเมนใกล้จะหมดอายุ ระบบจะพยายามจะหักเงินจากบัตรเครดิตล่วงหน้า) เท่านั้นยังไม่พอ บริษัทพวกนี้ยังมีการส่งอีเมลแจ้งเตือนก่อนที่โดเมนจะหมดอายุด้วย
เพราะฉะนั้น หากคุณจดชื่อโดเมนกับบริษัทที่มีระบบการจัดการที่ดี คุณก็ไม่ต้องกังวลเรื่องนี้ครับ (เดี๋ยวผมจะแนะนำบริษัทที่ผมใช้ให้)
หากผู้อ่านยังไม่ได้คิดชื่อโดเมนของตัวเอง อ่านบทความแนะนำการคิดชื่อโดเมนได้ครับ
ปกติแล้วเราจะเช่าโฮสกับจดโดเมนที่เดียวกัน โดยให้ตัดสินใจก่อนว่าจะใช้เว็บโฮสติ้งของที่ไหน จากนั้นก็ให้สมัครเว็บโฮสติ้งและจดโดเมนพร้อมกันเลย (เดี๋ยวจะแสดงวิธีทำให้ครับ)
ถ้าเราต้องการใช้คนละบริษัท ก็ทำได้ครับ แต่ปกติเรานิยมใช้ที่เดียวกันเพราะมีข้อดีสองอย่าง
ถ้าเราต้องการใช้คนละบริษัท ก็สามารถทำได้ครับ แต่ถ้าใช้ที่เดียวกันจะมีข้อดีคือ การติดตั้งเว็บไซต์จะง่ายและเร็วขึ้น เพราะคุณไม่จำเป็นเชื่อมต่อเว็บโฮสติ้งและโดเมนเข้าด้วยกัน ซึ่งอาจเป็นขั้นตอนที่ยุ่งยากสำหรับมือใหม่
เพราะฉะนั้น คุณเลือกใช้เว็บโฮสติ้งของที่ไหน คุณก็จดโดเมนกับที่นั่นไปเลย
หลายคนมีวิธีเลือกเว็บโฮสแบบง่ายๆ คือ เจ้าไหนถูกสุดก็เอาอันนั้น แต่ผมขอเตือนว่าถ้าคุณเน้นแต่ราคาถูกอย่างเดียว คุณจะปวดหัวกับปัญหาต่างๆ ทีหลังครับ
อย่างเจ้าของกระทู้ข้างล่างนี้ เค้าตัดสินใจใช้เว็บโฮสเจ้าหนึ่งเพราะราคาถูกมาก แต่พอใช้ไปก็เกิดปัญหามากมาย (เว็บล่ม, support แก้ปัญหาช้ามาก)
มีเว็บโฮสหลายเจ้ามากครับที่มีเจ้าหน้าที่ไร้ความสามารถแบบนี้ อย่างเจ้าของโพสต์ด้านล่าง เค้าใช้เว็บโฮสติ้งเจ้าหนึ่ง วันนึงเค้าติดต่อ support ขอให้ส่งไฟล์ backup ให้เค้าหน่อย แต่ support ดันทะลึ่งไป restore เว็บไซต์เค้าเฉยเลย (ข้อมูลบนเว็บเลยกลับเป็นข้อมูลเก่า)
ปัญหา support ห่วย เว็บล่ม ไม่ได้เกิดกับเว็บโฮสติ้ง no name อย่างเดียว เว็บโฮสติ้งเจ้าดังๆ ก็ไม่เว้นครับ อย่างเจ้าของกระทู้ด้านล่าง เค้าย้ายเว็บไซต์ไปเว็บโฮสชื่อดังเจ้าหนึ่ง ผลคือเว็บล่มบ่อยจนทำให้อันดับเว็บไซต์ใน Google ร่วงเอาๆ
เพราะฉะนั้น เราต้องเลือกเว็บโฮสติ้งดีๆ ครับ จะได้ไม่ปวดหัวทีหลัง
ปัจจัยในการเลือกบริษัทของผม มีดังนี้ครับ
บริษัทเว็บโฮสติ้งที่ผมแนะนำคือ FastComet (ลองกดลิงก์เข้าไปดูได้ครับ ลิงก์จะเปิดในหน้าต่างใหม่) เว็บโฮสติ้งเจ้านี้มีคุณสมบัติตามที่กล่าวมาทั้งหมด (แน่นอนว่าผมเองก็ใช้เว็บโฮสติ้งเจ้านี้ครับ)
HostAdvice.com (เว็บไซต์จัดอันดับเว็บโฮสติ้ง) มีการทำสำรวจว่าเว็บโฮสติ้งไหนที่คนแนะนำมากที่สุด ผลคือ FastComet มีคะแนนนำมาเป็นอันดับหนึ่ง (อันดับคิดจาก 32,359 รีวิวที่ผู้ใช้งานจริงส่งเข้ามา)
นอกจากนี้ FastComet ยังมี datacenter อยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ด้วย ทำให้เว็บไซต์โหลดเร็วขึ้น (เพราะอยู่ใกล้ประเทศไทย)
ถ้าคุณใช้ FastComet (ไม่ว่าจะ plan ไหน) คุณจะได้ติดตั้ง SSL certificate บนเว็บคุณได้ฟรีๆ ทำให้สามารถอัพเกรดเว็บคุณเป็น HTTPs ได้ ทำให้เว็บคุณน่าเชื่อถือ และยังส่งผลดีต่ออันดับใน Google อีกด้วย (ติดตั้งง่ายครับ เดี๋ยวผมจะแสดงวิธีการให้)
เว็บโฮสหลายเจ้าไม่มี SSL certificate แถมให้ ถ้าซื้อเพิ่มต้องเสียค่าใช้จ่ายรายปีประมาณ 1500 – 3000 บาทต่อเว็บไซต์ (แต่ FastComet แถมให้ฟรีหมดไม่ว่าคุณจะมีกี่เว็บไซต์)
FastComet อาจจะไม่ใช่เว็บโฮสติ้งที่ถูกทีสุด แต่ที่บริษัทนี้ถูกโหวตเป็นอันดับหนึ่ง เพราะว่ามีค่าบริการถูกมากเทียบกับบริการที่ได้
ข้อดีอีกอย่างคือผมใช้โฮสนี้อยู่ด้วย และผมก็ได้เขียนวิธีใช้งานเอาไว้แล้ว เช่น การติดต่อ customer support การยกเลิกบริการและขอเงินคืน ตามลิงก์ด้านล่างครับ
ถ้าคุณยังไม่เคยใช้บริษัทระดับนี้ คุณอาจสงสัยว่า เอ๊ะถ้ายกเลิกก่อน 45 วันจะได้เงินคืนจริงหรอ แล้วเค้าจะถามนี่นั่นเยอะไหม เราต้องมีเหตุผลดีๆ ไปบอกเค้าไหม คำตอบคือ ไม่เลยครับ มันเป็นสิทธิ์ของคุณครับที่จะยกเลิก คุณไม่จำเป็นต้องอธิบายอะไรทั้งสิ้น คือวัฒนธรรมบริษัทฝรั่งนั้นการขอ refund เป็นเรื่องธรรมดามาก เค้าไม่งี่เง่า ไม่กั๊ก คุณได้เงินคืน 100% แน่นอน
เอาล่ะครับ เมื่อรู้แล้วว่า FastComet ดียังไง ได้เวลาสร้างเว็บไซต์แล้วครับ
ก่อนอื่นให้ไปที่เว็บของ FastComet โดยคลิกปุ่มด้านล่าง (หน้าเว็บจะเปิดในหน้าต่างใหม่)
จากนั้นให้กดปุ่ม Start Now
จากนั้นเลือกว่าจะเอาเว็บโฮสติ้งคุณภาพระดับไหน ถ้าคุณจะสร้างแค่เว็บไซต์เดียว เลือก plan ที่ถูกที่สุดก็ได้ครับ นั่นคือ FastCloud ด้านซ้าย แต่ถ้าต้องการสร้างหลายเว็บให้เลือก FastCloud Plus (ถ้าไม่แน่ใจเลือก FastCloud ก่อนก็ได้ คุณสามารถอัพเกรดที่หลังได้โดยจ่ายแค่ค่าส่วนต่าง)
หน้าถัดไปให้เลือก Register a domain (อย่าเลือก I already have a domain เพราะตัวเลือกนี้สำหรับคนที่มีโดเมนแล้ว) แล้วพิมพ์ชื่อโดเมนที่ต้องการ จากนั้นกด Use This Domain
หน้านี้ต้องกรอกข้อมูลเยอะหน่อย แต่ไม่ต้องห่วง ผมจะอธิบายทีละส่วนอย่างละเอียดครับ
ส่วนแรกของหน้านี้คือ Account Information (บัญชีผู้ใช้) ให้กรอกรายละเอียดทั้งหมดเป็นภาษาอังกฤษ (ถ้าไม่เข้าใจส่วนไหน ดูคำอธิบายใต้รูปด้านล่างได้ครับ)
คำอธิบายรูปด้านบน
ผู้อ่านอาจสงสัยว่าบริษัทจะเอาที่อยู่และเบอร์โทรเราไปทำไม คำตอบคือ เค้าต้องการข้อมูลนี้เพื่อเอาไปจดโดเมนให้เราครับ (การจดโดเมนนั้น เค้ามีข้อกำหนดว่าเจ้าของโดเมนจะต้องระบุ ชื่อ, ที่อยู่, และเบอร์ติดต่อไว้)
ส่วนต่อมาให้กรอก Product Information (ดูคำอธิบายใต้รูป)
ต่อมาคือส่วน Extra (บริการเสริม) ให้เลือกว่าจะซื้อบริการเสริมอะไรบ้าง (อ่านคำอธิบายด้านล่าง)
คำอธิบายรูปด้านบน
สรุปคือ คุณแค่ตัดสินใจว่าจะเลือกซื้อ domain privacy หรือไม่ ส่วนบริการเสริมอื่นๆ ไม่ต้องซื้อครับ
ในส่วน Payment Information (ข้อมูลการชำระเงิน) ให้กรอกข้อมูลบัตรเครดิตของเราลงไป (หรือเลือกจ่ายเงินผ่าน PayPal)
พอกรอกข้อมูลเสร็จแล้ว ให้ติ๊ก “I confirm that I have read and agree to the FastComet Terms of Service” แล้วกดปุ่ม Complete Order ได้เลย
หลังจากนั้นคุณจะได้รับ welcome email จาก FastComet ซึ่งมีข้อมูลสำหรับล็อกอินเข้า control panel เว็บคุณ (ถ้าหาไม่เจอให้ดูที่ spam folder)
นอกจากนี้คุณจะได้รับอีเมลชื่อ Verify your contact information ให้เปิดอีเมลแล้วคลิกที่ลิงก์ด้านในเพื่อเป็นการยืนยันว่าคุณเป็นเจ้าของอีเมลนี้จริงๆ (ถ้าหาอีเมลนี้ไม่เจอให้ดูที่ spam หรือ junk folder)
หากคุณไม่ยืนยันอีเมลโดยการคลิกลิงก์ด้านบน โดเมนคุณจะยังไม่ถูกอนุมัติ (คือต่อให้ติดตั้ง WordPress เว็บคุณก็จะไม่ขึ้นครับ) เพราะฉะนั้นอย่าลืมคลิกลิงก์นี้นะครับ
พอมีเว็บโฮสติ้งและโดเมนแล้ว ก็ได้เวลาติดตั้ง WordPress (โปรแกรมสร้างเว็บไซต์อันดับหนึ่งของโลก) ขั้นตอนนี้ง่ายมาก เพราะ FastComet มีตัวช่วยพิเศษในการติดตั้ง WordPress เรียกว่า Softaculous
ก่อนอื่นให้ล็อกอินเข้าไปที่ control panel ของเว็บคุณก่อน (รายละเอียดการล็อกอินอยู่ในอีเมลจาก FastComet ครับ)
พอล็อกอินเข้าไป ให้มองหาโลโก้ WordPress (แบบในรูปข้างล่าง) แล้วกดเข้าไป (อยู่ในหมวดหมู่ Software)
จากนั้นกดปุ่ม Install Now
จะมีหน้าใหม่โผล่ขึ้นมา ให้กรอกข้อมูลของเว็บ WordPress ของคุณ
ส่วนต่อมาคือ Site Settings (ข้อมูลเว็บไซต์)
ส่วนต่อมา Admin Account ให้ตั้งค่าสำหรับล็อกอินเข้าเว็บไซต์ของคุณ
Settings อื่นๆ ให้ปล่อยเป็นค่า default ไปครับ ภาษาก็เลือกเป็น English ไปก่อน (เปลี่ยนภาษาทีหลังได้) ให้เลื่อนไปด้านล่างสุดแล้วกดปุ่ม Install เลย
ระบบจะเริ่มทำการติดตั้ง WordPress ให้คุณ (ระหว่างนี้อย่าเผลอกดลิงก์ไปหน้าอื่นหรือปิดเบราเซอร์) เสร็จแล้วจะเห็นคำว่า Congratulations, the software was installed successfully
พอติดตั้งเสร็จ คุณสามารถเข้าไปเยี่ยมชมเว็บไซต์คุณได้เลยครับ (ลองพิมพ์ชื่อเว็บไซต์บนเว็บเบราว์เซอร์ดู)
หากเว็บไซต์ไม่ขึ้น ลองใช้เบราเซอร์อื่น หรือเข้าผ่านมือถือดูครับ หากใช้มือถือแล้วเข้าได้แสดงว่าปัญหาคือเบราเซอร์ตัวนั้นๆ ไม่ยอมแสดงหน้าเว็บอัพเดตล่าสุด ให้ลองเคลียร์ไฟล์แคชดูครับ
ตอนนี้ URL ของเว็บคุณขึ้นต้นด้วย http:// (แทนที่จะเป็น https:// ซึ่งมีความปลอดภัยสูงกว่า) และถ้าคุณใช้ Google Chrome คุณอาจจะเห็นข้อความเตือนว่า Not Secure ซึ่งหมายความว่าเว็บคุณไม่ปลอดภัย
เพื่อความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์คุณ ให้อัพเกรดให้เว็บไซต์คุณเป็น HTTPs ตามขั้นตอนด้านล่าง
เช่นเดียวกับขึ้นตอนที่แล้ว ให้ไปที่ cPanel แล้วมองหาไอคอนชื่อ Lets Encrypt™ SSL (ปกติจะอยู่ในหมวด Security)
เมื่อกดเข้าไปคุณจะเห็นหน้าต่างด้านล่าง (Issue a new certificate) ให้คลิกลิงก์ Issue เพื่อออก SSL certificate ให้เว็บไซต์คุณ
ในหน้าถัดมาให้กดปุ่ม Issue โดยไม่ต้องแก้ค่าใน settings/checkbox
เท่านี้ระบบจะทำการติดตั้ง SSL Certificate ให้เว็บคุณแล้วครับ
เมื่อเว็บไซต์คุณมี SSL Certificate แล้ว ให้เข้าไปที่ WordPress Dashboard (ส่วนผู้ดูแลเว็บไซต์) ของเว็บไซต์คุณ เพื่อเปลี่ยน URL ของเว็บไซต์คุณ จาก http://mysite.com เป็น https://mysite.com
วิธีเข้า Dashboard ก็ง่ายๆ สมมุติเว็บคุณชื่อ mysite.com ให้คุณพิมพ์ mysite.com/wp-admin บนเว็บเบราว์เซอร์ แล้วล็อกอินด้วยชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านจากขั้นตอนการติดตั้ง WordPress
พอเข้ามาที่ Dashboard ให้เลือกเมนู Settings >> General (เมนูด้านซ้ายมือ)
หลังจากนั้นให้ทดสอบว่าเว็บเราเป็น https หรือยัง โดยการไปที่หน้าโฮม แล้วกดลิงก์อะไรก็ได้ในหน้านั้นดู (กดตรงชื่อเว็บด้านบนสุดก็ได้) มันจะต้อง redirect ไป URL ที่เป็น https (ตรง address bar จะเห็นรูปแม่กุญแจหรือคำว่า Secure)
หลายคนใช้วิธีทดสอบว่าเว็บเป็น https หรือยัง โดยการพิมพ์ชื่อโดเมนใน web browser แล้วดูตรง address bar เลย ซึ่งเป็นวิธีที่ไม่ถูกต้องนะครับ เพราะถ้าทำแบบนี้คุณอาจจะเห็นเป็น http เหมือนเดิม (เพราะ web browser มันจำ URL แบบเก่าไว้) วิธีทดสอบที่ถูกต้องคือคุณต้องกดลิงก์ในเว็บ แล้วดูว่ามันส่งเราไปหน้าที่เป็น https หรือไม่ครับ
ตอนนี้เว็บไซต์คุณคงมีหน้าตาเรียบๆ และไม่มีเนื้อหาอะไรเลย แต่อย่ากังวลไปครับ วันแรกที่ผมสร้างเว็บไซต์นี้ขึ้นมา มันก็หน้าตาเรียบๆ เหมือนกันครับ คราวนี้เราก็ต้องค่อยๆ เพิ่มเนื้อหาและปรับแต่งเว็บไซต์ให้ดูดี
หลังจากนี้คือความสนุกแล้วครับ เพราะตอนนี้ผู้อ่านจะได้เริ่มเรียนรู้การปรับแต่งเว็บไซต์ของคุณแล้ว
ก่อนอื่นเลย ผู้อ่านควรทำเรียนรู้การใช้งาน WordPress ซะก่อน โดยการอ่านบทความข้างล่างครับ (หากไม่มีเวลา ลองอ่านหัวข้อผ่านๆ ก็ได้ครับ จะได้รู้ว่า WordPress ทำอะไรได้บ้าง)
หลังจากเรียนการใช้งาน WordPress แล้ว ให้หาเว็บไซต์สวยๆ ดูเป็นแรงบันดาลใจ (เลือกเว็บที่มีสไตล์เหมือนที่เราอยากได้) จะทำให้เราได้ไอเดียว่าเว็บเราควรจะมีหน้าเว็บอะไรบ้าง สร้างเมนูแบบไหน วางเลย์เอ้าท์แบบไหนดี (ถ้าคุณไม่มีเว็บตัวอย่าง คุณจะไม่รู้จะเริ่มจากตรงไหนเลยครับ)
หลังจากมีเว็บตัวอย่างแล้ว ผมแนะนำว่าอย่าพึ่งเสียเวลาปรับแต่งดีไซน์ แต่พยายามใส่เนื้อหาให้มากที่สุดก่อน (สร้างหน้าเว็บที่จำเป็นให้หมด)
เหตุผลที่คุณควรใส่เนื้อหาประมาณนึงก่อน เพราะถ้าคุณพยายามปรับแก้ดีไซน์ตอนที่เว็บคุณยังโล่งๆ ไม่มีเนื้อหา มันจะทำได้ยากครับ คุณจะมีอาการ งงๆ ไม่รู้จะปรับจะแก้ตรงไหนดี (เชื่อผม ผมลองมาแล้ว)
สรุปสิ่งที่ต้องทำนะครับ
หลังจากที่คุณเพิ่มเนื้อหาและปรับแต่งเว็บไซต์จนน่าพอใจระดับหนึ่งแล้ว คุณอาจอยากทำให้หน้าเว็บบางหน้า เช่นโฮมเพจ หรือหน้าสินค้า ดู “หรูหรา” เหมือนถูกออกแบบด้วยมืออาชีพ
ข่าวดีคือ คุณสามารถสร้างหน้าเว็บสวยๆ ได้ด้วยตัวคุณเองครับ โดยการใช้ปลั๊กอินที่ชื่อว่า Elementor ซึ่งเป็นปลั๊กอินที่จะช่วยให้คุณออกแบบเว็บเพจสวยๆ ได้ครับ
อย่างด้านล่างเป็นรูปโฮมเพจของเว็บไซต์หนึ่งของผม ซึ่งออกแบบด้วย Elementor
อ้อ จริงๆ แล้ว หน้าเว็บที่คุณกำลังอ่านอยู่ก็ถูกสร้างด้วย Elementor เช่นกันครับ 🙂
คุณสามารถเรียนรู้การใช้งานปลั๊กอินตัวนี้ ได้จากบทความด้านล่างครับ
เท่านี้คุณก็จะมีเว็บไซต์สวยๆ แล้วครับ 🙂
ด้านล่างคือเครื่องมืออื่นๆ ที่ผู้อ่านอาจต้องใช้นะครับ
เว็บพวกนี้ผมตรวจสอบแล้ว สามารถโหลดรูปไปใช้ได้ ทั้งส่วนตัวและเชิงพานิชย์ ไม่ต้องให้เครดิต ไม่ผิดลิขสิทธิ์ครับ
ตัวอย่างรูปภาพ
จากการทดลองใช้เว็บออกแบบโลโก้หลายๆ ที่ เว็บทำโลโก้ฟรีที่ผมแนะนำคือ Canva.com เพราะมีโลโก้และไอคอนสำเร็จรูปฟรี ให้เลือกใช้ได้เยอะ แถมดาวน์โหลดโลโก้ที่สร้างได้ง่ายๆ (บางเว็บกว่าจะโหลดได้ เงื่อนไขขั้นตอนเยอะมาก)
ตัวอย่างโลโก้ที่ผมลองสร้างกับ Canva
จบแล้วครับสำหรับการสร้างเว็บไซต์ หากมีคำถาม สามารถติดต่อผมได้เลยครับ (หรือคอมเมนต์ด้านล่างก็ได้)
95 thoughts on “วิธีการสร้างเว็บไซต์ (อธิบายทุกขั้นตอนอย่างละเอียด)”
ขอบคุณมากๆครับ มีประโยชน์มากๆเลยครับ.
สร้างบนมือถือได้ไหมครับ
การสร้างเว็บเราสามารถทำบนมือถือได้ครับ (ผมเองบางครั้งก็ปรับแต่งเว็บผ่านมือถือเหมือนกัน) แต่แค่จะไม่สะดวกเท่ากับทำผ่านคอมเท่านั้นเอง
ติดตั้ง SSL Certificate เรียบร้อยแล้วค่ะ แต่ว่า แก้ URL เว็บไซต์ให้เป็น HTTPs ใน WordPress ไม่เจอค่ะ
เข้าไปที่ Settings >> General แล้ว แต่ไม่มี ช่องใส่ Website Address และ Site Address นะค่ะ
แปลกจังครับ หาดูดีๆ รึยังครับ Website Address และ Site Address คือช่องที่ 3 และ 4 ตามลำดับ (อยู่เกือบบนสุดเลย)
แต่ไม่มีจริงๆ ลองเข้าไปที่เมนู Settings >> General อีกครั้งแล้วส่ง screenshot มาให้ผมดูก็ได้ครับที่ contact@noobmarketer.com
หาเจอแล้วค่ะ ขอบคุณมากๆนะค่า
สอบถามคะ .. มือใหม และต้องการที่จะเรียนรู้ทำwebsite ด้วยตัวเอง ดังนี้
1. โปรแกรม wordpress ถ้าจะใช้ชื่อwebsite แบบภาษาไทย เช่น http://www.เราไม่ทิ้งกัน.com อะไร ประมาณนี้ได้ไหม หรือ ต้องชื่ออังกฤษเท่านั้น?
2. ถ้าใช้ชื่อ website ภาษาไทย และต้องการจะให้website เราดูดี มีคุณภาพ ต้องใช้ .com , .co.th หรือ .org คะ
3. ในการทำwebsite เองนี้ อันดับแรกเลย เราต้องไปหาเช่า host และ จดโดเมน ก่อน หรือ ทำwebsite ไปก่อน ค่อยไปหา host และ จดโดเมน ทีหลัง ?
4. เมื่อเราทำ website เสร็จ … เรา หรือ host จะเป็นคน public เว็บไซต์ (อันนี้ไม่รู้จริงๆ) หรือในโปรแกรม wordpress มีคำสั่งนี้อยู่แล้ว?
ขอบคุณมากคะ 😊🙂
1) ทำได้ครับ เวลาจดโดเมนเราก็แค่พิมพ์ชื่อไทยที่เราต้องการลงไป แต่ไม่แนะนำครับ เพราะเวลาเรา copy ชื่อเว็บไซต์มาวางใน document อย่าง Microsoft Word มันจะเปลี่ยนเป็นแบบนี้ครับ > xn--12cl1ck0bl6hdu9iyb9bp.com (แต่พอเอากลับไปพิมพ์บน web browser มันจะกลับไปเป็นคำภาษาไทยเหมือนเดิม)
2) ใช้ .com ดีที่สุดครับ ส่วน .co.th ไม่ใช่ว่าใครอยากจะจดก็จดได้ครับ ต้องมีหนังสือรับรองบริษัท
3) ปกติเราต้องเช่าโฮสและจดโดเมนก่อนครับ
4) เป็นหน้าที่ของ host ครับ และไม่ต้องใช้คำสั่งอะไรเลยครับ แค่สมัครโฮสและลง WordPress เท่านี้เว็บเรามันก็เข้าได้จากทั่วโลกแล้วครับ
wordpress ที่ใช้เป็น wordpress.com หรือ wordpress.org เหรอคะ?
เป็น WordPress จาก WordPress.org ครับ ผมไม่แนะนำให้ใช้ WordPress.com เด็ดขาดเพราะเป็นเว็บโฮสติ้งที่แย่มาก ถ้าไม่ใช้ plan ที่แพงที่สุด จะมีข้อจำกัดเยอะมาก (หลักๆ คือ อัพโหลดธีมไม่ได้ ลงปลั๊กอันไม่ได้) ในขณะที่เว็บโฮสติ้งรายอื่นทั่วไป แต่ให้เราใช้ plan ถูกสุดก็สามารถลงอะไรต่างๆ ได้หมด
ขอชมเชยอย่างมากเลยค่ะเป็นคนละเอียดและขยันที่จะเขียนบอกให้คนสนใจอยากทำได้หัดทำ พี่อยากหัดทำเหมือนกันแต่คงต้องใช้เวลามากมายกว่าจะสำเร็จ พี่จะพยายามศึกษาค่อย ๆ ลองทำดู ว่าแต่เว็ปออกแบบโลโก้นี่เราต้องกรอกข้อมูลบัตรแล้วเราจะได้ทดลองใช้ 14 วันแล้วต่อไปเขาจะหักเงินเราอัตโนมัตเลยใช่มั้ยคะ
ไม่ทราบเหมือนกันครับ ผมใช้แต่แบบฟรีครับผม
อันนี้ใส่ข้อมูลในเว็บได้เยอะไหมคะ ถ้าเราจะใส่ข้อมูลไปเพิ่มเรื่อยๆเว็บจะหนัก จะมีปัญหาอะไรไหมคะ
WordPress ออกแบบมาให้รองรับข้อมูลจำนวนมากได้อยู่แล้วครับ เว็บใหญ่ๆ ที่มีเนื้อหาเป็นพันๆ หน้าก็ใช้ WordPress กันได้อย่างไม่มีปัญหา อย่างเว็บของผมเว็บหนึ่งมีอีเมล subscribers ประมาณแสนห้าหมื่นอีเมล ก็ยังไม่มีปัญหาเลยครับ
ขอบคุณครับ อธิบายละเอียดจริงๆ ขอบคุณอีกครั้งครับผม
การสร้าง web รับสมัครงานวิ่งแบ่งเป็นระยะ ควรใช้ plug-in แบบไหนครับ และการจัดการข้อมูลหลังบ้าน เช่นตัด stock เสื้อ แยกชนิดการวิ่ง ใช้โปรแกรมอะไรอ่ะครับ
ขอบคุณมากครับ มือใหม่เริ่มเรียนครับ
คือ WordPress เนี่ยจะมีแต่ปลั๊กอินที่คนจำนวนมากนิยมใช้ (อย่างเช่นระบบตะกร้าสินค้า) แต่จะไม่ค่อยมีปลั๊กอินเฉพาะทางแบบนั้นครับ
ถ้าต้องการสร้าง website เฉพาะทางมากๆ แบบนี้ คุณต้องจ้าง web developer มาทำ website ให้ครับ
ซึ่งก่อนจะจ้างกันก็ต้องมีการคุยรายละเอียด (ฟีเจอร์ที่ต้องการ, งบประมาณ, ระยะเวลา) จากนั้น web developer เค้าจะเสนอแนวทางว่าจะทำ website ด้วยวิธีไหน จะมีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่
เค้าอาจจะสร้าง website ด้วยโปรแกรม WordPress (หรือ Drupal) ขึ้นมาก่อน แล้วเขียนโค้ดหรือปลั๊กอินเพิ่มเติมให้มีฟังก์ชันการทำงานตามต้องการ หรือเค้าอาจจะเขียนเว็บใหม่หมดจากศูนย์เลยก็ได้
คุณสามารถหา web developer ตาม website พวกนี้ได้ครับ
ขอบคุณมากครับ เป็นการอ่านการสร้าง web ทีมีประโยชน์มากครับ สร้างแรงบันดาลใจขึ้นเยอะเลยครับ
ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆนะคะ เป็นประโยชน์มากๆเลยค่ะ ช่วยได้เยอะเลย ^_^
สุดยอดครับ จะลองทำตาม ครับ
มีปัญหาตรงข้อมูลบัตรเครดิตค่ะ ช่อง cvv เปลี่ยนเป็นภาษาต่างดาว แก้ไขยังไงคะ
ไม่ทราบว่ายังเจอปัญหานี้อยู่ไหมครับ เมื่อครู่ผมลองเข้าเว็บไซต์แล้วพิมพ์ตัวเลขลงช่อง cvv ดู ก็พิมพ์ได้ไม่เป็นภาษาต่างดาวนะครับ
ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ มือใหม่กำลังหัดศึกษาครับ
ขอบพระคุณมากๆ ค่ะ
ตอนนี้กำลังจะเริ่มทำเว็บไซต์อย่างจริงๆ มาเจอบทความนี้ ตอบทุกคำถามในใจตอนนี้เเล้วค่ะ
^^”
Thank you
ขอบคุณมากๆ คับ ข้อมูลละเอียดมีประโยชน์มากคับ ผมทำตามทุกขั้นตอนจนมี domain และ install wordpress เรียบร้อยแล้วคับ ต่อไปคงเริ่มจัดการทำเวป ผมขอโทษรบกวนสอบถามเพิ่มคับ เราจะสร้างอีเมล์ภายใต้เว็บไซต์ของเราเอง (เช่น contact@noobmarketer.com) ได้อย่างไรคับผม? และเรามีเมล์แล้ว เราใช้ตัวไหนคอยดูเมล์คับ
ขอบคุณมากๆคับ
สวัสดีครับ เมื่อผมติดตั้ง wordpress เสร็จเรียบร้อยแล้ว ผมอยากทราบว่า เราจะสามารถใช้โปรแกรม wordpress กับเครื่องอื่นๆ ได้หรือไม่ครับ หรือว่าเครื่องคอมทุกเครื่องต้องลง wordpress ทุกเครื่องก่อน เราจึงจะสามารถใช้ wordpress ได้ครับ ขอบคุณมากๆครับ
พอลง WordPress บนเว็บโฮสติ้งแล้ว เราสามารถเข้าไปใช้งาน WordPress ที่คอมเครื่องใดก็ได้ครับ โดยไม่ต้องลองโปรแกรมใดๆ เพื่มเติม เราสามารถใช้ web browser ล็อกอินเข้า URL ของ WordPress dashboard ของเรา (mywebsite.com/wp-admin) เพื่่อเข้าไปจัดการเว็บเราได้เลย
ขอบคุณมากๆ เลยครับ
จารย์ครับ เราสามารถเลือกใช้ธีมให้แสดงเป็นบางเพจได้ไหมครับ ??
ทำได้ครับ แต่ผมไม่เคยทำเองเหมือนกัน ลองศึกษาวิธีจากบทความนี้ดูครับ
https://www.wpbeginner.com/wp-themes/how-to-use-multiple-themes-for-pages-in-wordpress/
ให้ข้อมูล เข้าใจง่ายมากคะ ขอบคุณมากคะ ไว้จะลองไปสร้างดูคะ
มีประโยชน์มากๆ เลยครับ
อธิบายละเอียดดีมากๆ สามารถนำไปใช้ได้จริง
ขอบคุณมากๆเลยครับ
The following errors occurred:
The credit card details you entered were declined. Please try a different card or contact support.
*บัตรถูกปฎิเสธครับ ทำยังไงดี ใช้บัตรเดบิตไม่ได้หรอครับ ผมใช้ทั้ง SCB (จะเป็น MasterCard) และ กสิกร (VISA)
ไม่ผ่านทั้ง 2 ใบเลยครับ
แนะนำว่าให้ติดต่อ FastComet ดูครับ โดยไปที่เว็บไซต์ FastComet ถ้าขณะนั้นมีเจ้าหน้าที่อยู่ คุณสามารถ chat คุยกับเขาได้ทันทีเลย หรือไม่ก็ฝากข้อความทิ้งไว้ เดี๋ยวเจ้าหน้าที่จะติดต่อให้ความช่วยเหลือเองครับผม
อ่านและเข้าใจมากเลยครับ
มีประโยชน์มากเลยค่ะ อธิบายละเอียดยิบ
ขอบคุณมากๆค่ะ
ขอบพระคุณอย่างสูง ที่ให้ความรู้อย่างละเอียด เป็นขั้นเป็นตอน ได้อ่านและศึกษาดูแล้วเชื่อว่าคนที่ไม่มีพื้นฐานและความรู้ด้าน IT เลยน่าจะคลำๆทำตามจนสำเร็จได้ หากมีข้อติดขัดก็ต้องรบกวนคำชี้แนะจากท่าน
ขอขอบพระคุณที่ท่านได้แบ่งปันความรู้อันเป็นประโยชน์ยิ่งครับ
ยินดีมากครับ ขอบคุณที่เข้ามาอ่านเว็บไซต์ผมนะครับ
ละเอียดจริงชัดเจนดี เดี๋ยวจะลองทำตามดูนะคะ คิดว่าน่าจะทำได้เพราะอธิบายเข้าใจง่าย อยากมีweb site ของตัวเองไว้โชว์เพื่อนๆ ญาติๆ นานแล้ว สมัครโดเมนกับGoogle ไว้ตั้งนานแล้ว แต่ก็ไม่สำเร็จสักที บางหัวข้อก็เพิ่งจะทราบและเข้าใจ จากบทความนี้ ขอบคุณนะคะ ขอบคุณมากๆ ที่ทำให้เช้านี้ตื่นมามีแรงฮึดจะสร้างwebของตัวเองอีกครั้ง
ยินดีมากครับที่บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณ ขอให้สนุกกับการทำเว็บนะครับ
ผมสมัครจนจ่ายเงินแล้วครับ ไม่ทราบว่าไปดูเมลล์ตรงไหนครับ เพื่อจะเอารหัส
ก็ดูใน email inbox ของคุณไงครับ
อาจารย์คะ ขอบคุณค่ะ พี่มีบทความดีๆ ให้ความรู้แก่พวกเรา ปีใหม่นี้ (ค.ศ.2020) ขอให้อาจารย์มีสุขภาพแข็งแรงทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจนะคะ
เป็นมือใหม่แบบ 0 เลยค่ะ หัดทำตามบทความของอาจารย์ทีละขั้นตอน อธิบายได้ละเอียดและเข้าใจง่ายมากเลยค่ะ ขอบคุณมากนะคะ วันนี้เพิ่งสมัครเสร็จ ถ้าเว็บมีความคืบหน้าแล้วจะมาอัพเดทหรือขอคำแนะนำเพิ่มเติมนะคะ ขอบพระคุณอีกครั้งค่ะ
ยินดีมากๆ เลยครับ ขอให้สนุกกับการทำเว็บนะครับผม
กำลังปั้นอยู่เลยค่ะ ตอนแรกลองใช้ free theme + woocommerce ปรากฎว่าติดปัญหาบางอย่าง ตอนนี้เลยซื้อ theme ของ flatsome มาสร้างเว็บดูค่ะ อาจารย์พอจะถนัดในตัวนี้ไหมคะ หากมีข้อสงสัยจะได้มาขอคำปรึกษาเพิ่มเติมจากอาจารย์ได้อีกครั้งหนึ่งค่ะ
ส่วนตัวไม่เคยใช้เลยครับ แต่เข้าไปดูรายละเอียดพบว่าเป็นธีมที่ rating ดีมากๆ เลยคิดว่าคุณเลือกซื้อธีมถูกอันแล้วครับ 🙂
สามารถสร้างตลาดออนไลน์เพื่อให้คนมาเช่าพื้นที่ขายของที่คล้ายๆกับLazada ,Shoppe ฯลฯ ได้ไหมครับ ถ้าได้รบกวนอาจารย์ช่วยสอนวิธีทำด้วยนะครับ ขอบคุณไว้ล่วงหน้าด้วยนะครับ
ผมเองก็ไม่เคยทำเหมือนกันครับ แต่ลองหาข้อมูลพบว่าทำได้ครับ คือใช้ปลั๊กอินชื่อ WC Vendors Marketplace มีคนทำ tutorial สอนด้วยครับแต่เป็นภาษาอังกฤษ ลองเข้าไปอ่านดูครับ
กำลังศึกษาการทำเวปส่งเสริมการท่องเที่ยวให้ชุมชน ขอบคุณมากสำหรับคำแนะนำ
ถ้าเราจะเขียนเว็บไซต์โดยที่ไม่ใช่ WordPress แต่ใช้ตัวอื่นเขียนได้ไหมครับ
ได้ครับ ยังมี platform หรือระบบอื่นเป็นทางเลือกอยู่บ้าง แต่ที่ผมสอน WordPress เพราะมันเป็นวิธีที่คนนิยมสุดครับ
ผมสมัคร ตัดจ่ายบัตรเครดิตแล้ว หน้าเว็บ ก็หายไปเลยคับ อีเมลล์ก็ยังไม่มีอะไรเข้ามาคับ
ถ้าเช็คแล้วว่าตัดไปแล้วจริงๆ ติดต่อ support โดยกดที่คำว่า Sale Questions? ที่อยู่ด้านบนของเว็บเลยครับ
ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆครับ ผมยังไม่ได้ทดลองทำ แต่ผมรุ้สึกประทับใจกับความรู้ที่คุณมอบให้ทุกคนที่เขาเข้ามาอ่านรวมทั้งตัวผมด้วยแบบบอกไม่ถูก น้ำตาจิไหล
ผมว่าจะทำเว็บไซต์ดูหนังออนไลน์ครับ ถ้านำเนื้อหาในบทความนี้ไปปรับแก้อะไรนิดหน่อยจะช้ได้ไหมครับ 2.มันมีปลั๊กอินที่ทำให้วิดีโอเล่นผ่านเว็บไซต์ได้เลยไหมครับ ถ้ามีต้องใช้ตังไหนดีครับ
ถ้าอยากทำเว็บประเภทนั้น คุณต่อยอดจากบทความนี้ได้เลยครับ ส่วนการโฮสวิดีโอบนเว็บไซต์ WordPress ผมเขียนอธิบายตัวเลือกต่างๆ ไว้นี้อีกบทความแล้ว ลองอ่านดูครับ
ปรับแต่งเสร็จแล้ว ต้องทำอย่างไร่ต่อ หาเวปตัวเองไม่เจอ ไม่มี
มือใหม่หัดทำ
ทำเว็บเสร็จเร็วมากเลยครับ (คุณมือใหม่จริงหรอเนี่ย)
หมายถึงหาเว็บตัวเองใน Google ไม่เจอใช่ไหมครับ อันนี้ไม่ต้องทำอะไรครับ เดี๋ยวมันจะถูกจัดเก็บใน Google เองครับ
ขอบคุณครับ มีประโยชน์มาก อ่านง่ายเข้าใจง่ายมาก
***สอบถามเพิ่มเติม*** หากเราสร้างเวปบน WordPress แบบทดลองไม่เสียค่าใช้จ่าย
เสร็จแล้ว เราค่อยไปเช่าโดเมนเนม และโฮสติ้ง โดยนำเวปที่เราสร้างไปใช้เลยได้ไหมครับ
หรือต้องทำหลังจากเช่าโดเมนเนม และโฮสติ้งอย่างเดียว ถึงจะสร้างเวปไซต์ และนำไปใช้งานได้จริง
ขอบคุณครับ
ลองใช้ก่อนได้ครับ อ่านวิธีการในบทความด้านล่างเลยครับ
https://noobmarketer.com/install-wordpress-localhost/
หลังจากลองปรับแต่งเว็บบนเครื่องตนเอง ถ้าอยากอัพเว็บขึ้นโฮสติ้งจริง (จะได้ไม่ต้องสร้างเว็บใหม่) ก็ทำได้ครับ วิธีที่ง่ายที่สุดคือติดต่อ support ให้เค้าจัดการให้ครับ เดี่ยวเค้าดำเนินการให้เอง
ขอบคุณมากครับ มีประโยชน์มากๆครับ
สอบถามเพิ่มเติมครับ
กรณีจะลงโฆษณาต่างๆ สามารถ add เนื้อหาเข้าไปในเวปได้เลยไหมครับ
ขอบคุณครับ
ทำได้ไม่มีปัญหาครับ ปัจจุบันมี plugins มากมายสำหรับแสดงโฆษณาบนเว็บเราครับ ลงค้นหาคำว่า WordPress Plugins For Ad Placements แล้วลองใช้งานแต่ละอันดูว่าอันไหนตอบโจทย์เราครับ
ขอบคุณมากค่ะที่ช่วยแชร์ความรู้ดีๆ อยากถามว่าถ้าการใช้งานเน้นกลุ่มลูกค้าทางยุโรป เว็บโฮสติ้ง Fast comet ยังใช้ได้ดีไม่คะ และในส่วนของการสร้างเว็บ เราสามารถทำปุ่มปรับหลายภาษาได้ใหม่คะ
ใช้ได้ดีครับ เพราะที่นี้เค้ามี datacenter รองรับทุกทวีป เวลาเลือก datacenter (สถานที่ของเว็บโฮสเรา) ควรเลือกประเทศในยุโรป เช่น London, Amsterdam, หรือ Frankfurt จะทำให้เว็บไซต์โหลดเร็วขึ้นสำหรับผู้เยี่ยมชมในยุโรปครับ
ส่วนเรื่องทำปุ่มเปลี่ยนภาษา ก็สามารถทำได้ครับ ลองค้นหาคำว่า “how to create multilingual WordPress website” ใน Google ดูครับ
Thank you for your good information, I would like to ask you some favor questions. Now I am living in Laos, but sometime I live in Malaysia and Thailand for my business. So can I create website in Laos or Malaysia? or do I need to create website while I stay in Thailand? but can I use the website in Laos or Malaysia or anywhere in worldwide?
Best regards,
Phayboune
You can create your website while living anywhere in the world. It makes no different where you physically live. This is because the website will be hosted on a server that’s connected to the Internet 24/7, so it will be accessible worldwide.
ผมใช้ FastComet ติดตั้ง SSL Certificate ได้แล้ว แต่ ไม่สามารถแก้ URL เว็บไซด์ ให้เป็น HTTPs ได้
ตอนนี้ ใช้ WP 5.4.1 อยู่ครับ
ขอบคุณครับ
จริงๆ มันเปลี่ยนเป็น https เรียบร้อยแล้วครับ (ผมเช็คดูแล้ว ลิงก์ต่างๆ ในเว็บคุณเป็น https หมดแล้ว) แต่คือคุณสามารถเข้าได้ทั้ง http และ https ครับ ทีนี้ history ใน web browser ของคุณมันน่าจะจำ URL ที่เป็น http เฉยๆ เอาไว้ เวลาพิมพ์ชื่อเว็บมันเลยเข้า http ครับ
ข้อมูลเป็นปะโยชน์อย่างมากเลยค่ะ ขอบคุณมากๆเลยค้าาา หนูมีข้อสงสัยค่ะ ถ้าสมมติว่า ต้องการสร้างเว็ปแต่ว่าให้อยู่ระยะเวลา เพียง 1 ปี แล้วไม่ทำต่อ คือยังงี้ได้ไหมค่ะจะเสียเงินอยู่ไหมค่ะ
ก็จะเสียเงินแค่ปีเดียวครับ ก่อนครบปีก็ไปยกเลิกเว็บโฮสติ้งกับโดเมน แค่นี้ปีต่อไปก็ไม่เสียเงินแล้วครับ (แต่แน่นอนว่าเว็บก็จะหายไปด้วย)
สวัสดีค่ะ พอดีติดตามbloggerคนนึงในไอจีอยู่ค่ะ แล้วเขามีเวปไซต์ด้วย รู้สึกชอบรูปแบบของเวปเขา แต่ไม่ทราบว่าเขาใช้โฮสติ้งของอะไร รบกวนช่วยดูให้หน่อยได้ไหมคะ ขอบคุณค่ะ
เว็บที่ว่าคือเว็บ oneoceanaway ใช่ไหมครับ ต้องบอกก่อนว่าเว็บโฮสติ้งไม่ได้เป็นตัวกำหนดดีไซน์ของเว็บไซต์นะครับ แต่เป็นธีม WordPress ต่างหาก เพราะฉะนั้นถ้าคุณอยากได้ดีไซน์คล้ายกันก็ต้องใช้ธีมเดียวกันครับ (ส่วนเว็บโฮสใช้ที่ไหนก็ได้) โดยเว็บดังกล่าวใช้ธีมชื่อ Ashe Theme by WP Royal (ผมรู้ได้โดยการเลื่อนไปด้านล่างสุดของเว็บ มันมีเขียนบอกไว้ครับ)
จาก wordpress สามารถเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลพวก Mysql ได้ไหมและสามารถเขียนโปรแกรมคำนวนเพิ่มต่างหากได้ไหม
WordPress มีการใช้ฐานข้อมูล Mysql (ถูกสร้างตอนติดตั้ง WordPress) โดยถ้าคุณอยากสร้างตารางเพิ่มในฐานข้อมูลดังกล่าว (สำหรับโปรแกรมคุณ) คุณก็ต้องสร้างปลั๊กอิน WordPress ขึ้นมา และก็จัดการฐานข้อมูลผ่าน API ของ WordPress
ขอบคุณสำหรับบทความชั้นครู ที่มอบเป็นวิทยาทานให้กับคนไทยสามารถเข้าถึงได้และก้าวหน้าไปด้วยกันครับ
ขอบคุณค่ะ อธิบายได้เข้าใจง่ายค่ะ จะลองทำตามนะคะ
จดโดเมนชื่อเป็นภาษาไทยได้ไหมค่ะ
ได้ครับ เวลาจดโดเมนเราก็แค่พิมพ์ชื่อไทยที่เราต้องการลงไป แต่ไม่แนะนำครับ เพราะเวลาเรา copy ชื่อเว็บไซต์มาวางในโพสต์เฟซบ๊คหรือเอกสาร Word โดเมนมันจะเปลี่ยนเป็นตัวอักษรมั่วๆ แบบนี้ครับ xn12cl1ck0bl6hdu.com (แต่พอเอากลับไปพิมพ์บน web browser มันจะกลับไปเป็นคำภาษาไทยเหมือนเดิม)
ชอบครับ ขอบคุณที่แนะนำ กำลังจะทำน้ำดื่มขาย อยากทำเวบเองครับ
เป็นประโยชน์อย่างมากเลยครับ
ผมจะลองทำตามนะครับ ติดตรงไหนขออณุญาติสอบถามนะครับ
ยินดีครับ ขอให้สนุกกับการทำเว็บนะครับ
รบกวนถามหน่อยนะคะ.เคยจ้างเค้าทำเวปแล้วแต่ไม่ต่อ ยกเลิกไป.. แล้วอยากทำใหม่โดยใช้ชื่อเวปเก่าจะต้องทำยังไง..( คือไม่ค่อยมีความรู้เรื่องนี้เลยค่ะ.. แต่พอมาอ่านแล้วรู้สึกเข้าใจง่ายขึ้น.ขอบคุณนะคะ)
ถ้าโดเมนนั้นหมดอายุแล้ว แล้วมีสถานะว่างอยู่ (คือไม่มีเจ้าของ) ก็ให้จดโดเมนนั้นใหม่อีกครั้งได้เลยครับ คุณก็จะได้ชื่อเดิมกลับมา
แต่ถ้าหลังจากยกเลิกไปแล้ว มีคนจดโดเมนนั้นไปภายหลัง แบบนี้ก็ทำอะไรไม่ได้ ต้องหาโดเมนใหม่ครับ
สหวัดดี ครับ, ผมคือคนลาว สนใจอยากมีเวบ แต่ไม่แน่ใจว่า พี่มีบลิการสำหลับคน ลาว หลือ ไม่ ครับ?
จริงๆ แล้วถ้ามีบัตรเครดิตก็สามารถสมัครได้หมดครับ ไม่ว่าจะอยู่ที่ประเทศไหนก็ตาม
สอบถามค่ะ ถ้าจะชำระเป็นรายปี นี่เขาจะหักเงินครั้งแรกที่สมัครเลยไหมคะ เลยหักเมื่อครบปีแล้ว
เค้าจะหักเงินตอนที่สมัครเลยครับ
ขอบคุณมากนะคะ ได้ความรู้เรื่องการทำเว็บมากเลยคะ ยอมรับเลยว่าตัวเองเริ่มจาก 0 คะ ^^ ขอบคุณมากคะคุณ Noob Marketer .
ขอบพระคุณมากครับคุณ Noob ผมเพิ่งหัดทำเวปไซด์ร้านอาหารครับ
แต่อยากทราบว่าถ้าจะทำให้ร้านอาหารที่อเมริกา ผมจำเป้นต้องเลือก hosting ที่อยุ่ใกล้อเมริกาไหมครับ
ไม่จำเป็นครับ เพียงแต่ว่าถ้าเลือก hosting ที่อยู่อเมริกาจะทำให้คนที่เข้าเว็บจากอเมริกาโหลดเว็บเราเร็วขึ้นครับ
คือหามาหลายเว็บ เพิ่งจะหัดทำ Word Press บล๊อกนี้เข้าใจสุดอ่ะทำได้แล้วอ่ะ บล๊อกสับสนเวอร์
กำลังจะสร้างเว็บที่เป็นภาษาไทย เเต่อีก 6 เดือนอาจจะไปอยู่ที่ญี่ปุ่น ถ้าตอนนี้เราเลือกชำระครั้งแรก 12 เดือนที่ไทย จะใช้ได้หนึ่งปี แล้วพอจะหมดอายุ เราสามารเปลี่ยนแปลงการชำระเงินภายหลังได้หรือเปล่าคะ เพราะบัตรเครดิตอาจใช้ของญี่ปุ่น รบกวนแนะนำด้วยนะคะ ขอบคุณมากค่ะ
ทำได้สบายมากครับ ใน client area จะมีเมนูให้ลบหรือเพิ่มบัตรเครดิตได้ครับ ไม่มีปัญหา
ขอบคุณมากค่ะ